
โปรดอ่านบทความของเรา ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยายุติการตั้งครรภ์: ก่อนการใช้ยาหรือก่อนรับประทานยา โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า:
- คุณมีอายุครรภ์น้อยกว่า 13 สัปดาห์ (91 วัน)
- คุณได้อ่านข้อควรพิจารณาและคำแนะนำทั่วไปทั้งหมดของเราแล้ว
- คุณมีแผนความปลอดภัยเตรียมไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินแม้อาจเกิดขึ้นได้ยาก
ฉันจะใช้ไมเฟพริสโตนและไมโซพรอสทอลเพื่อทำแท้งได้อย่างไร?
หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ด้วย ไมฟีพริสโทน และ ไมโซพรอสทอล คุณจะต้องรับประทานยาไมฟีพริสโทน ขนาด 200 มก. 1 เม็ด และไมโซพร อสทอล 200 มก. อย่างน้อย 4 เม็ด (รวมเป็น 800 มก.)
คุณควรรับประทานยาไมโซพรอสทอลทั้งหมด 8 เม็ด ซึ่งคุณอาจจะต้องรับประทานทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าการยุติการตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณตั้งครรภ์ได้ 9–13 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากคุณมียาไมโซพรอสทอลเพียง 4 เม็ด ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
ยาแก้ปวด (เช่น ไอบูโพรเฟน-ibuprofen) และยาแก้คลื่นไส้สามารถช่วยบรรเทาอาการระหว่างการยุติการตั้งครรภ์ได้ หากคุณรู้สึกคลื่นไส้อย่างรุนแรง เราขอแนะนำให้คุณรับประทานยาแก้คลื่นไส้ 30 นาที ก่อนรับประทานไมฟีพริสโทนหรือไมโซพรอสทอล เพื่อป้องกันการอาเจียน
คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารระหว่างการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา คุณสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นในช่วงที่อมยาไว้ใต้ลิ้น
ต่อไปนี้เป็นวิธีการใช้ยาไมฟีพริสโทนและไมโซพรอสท อลร่วมกันเพื่อยุติการตั้งครรภ์:
ขั้นตอนที่ 1: ควรรับประทานไมเฟพริสโตนอย่างไร?
รับประทานยาไเฟีพริสโทน 200 มก. 1 เม็ด พร้อมน้ำ
หากคุณอาเจียนภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังรับประทานยาไมฟีพริสโทน ยาอาจไม่ออกฤทธิ์ และคุณจะต้องรับประทานยาเพิ่มอีก 1 เม็ด แต่หากคุณอาเจียนหลังจากผ่านไปหนึ่งชั่วโมงแรก คุณไม่ต้องกังวลใด ๆ เนื่องจากยาจะยังคงออกฤทธิ์ได้ตามปกติ”
ขั้นตอนที่ 2: หลังจากรับประทานไมเฟพริสโตนแล้วควรรอนานแค่ไหน?
“รอให้ครบ 24–48 ชั่วโมง
โดยปกติแล้วไมฟีพริสโทนไม่มีผลข้างเคียง ดังนั้นคุณจึงใช้ชีวิตตามปกติได้ ในบางครั้งบางคนอาจมีเลือดออกก่อนใช้ไมโซพรอสทอล หากเป็นเช่นนี้ก็ไม่เป็นไร ให้ทำตามปกติ
คุณสามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 24 ชั่วโมงถึง 48 ชั่วโมงต่อมา เพื่อเลือกเวลาที่สะดวกที่สุดในการเริ่มรับประทาน เมื่อคุณเริ่มรับประทานไมโซพรอสทอลแล้ว ให้แน่ใจว่าคุณอยู่ในที่ที่รู้สึกปลอดภัยและสบายใจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง แต่ควรเป็น 24 ชั่วโมง หากเป็นไปได้ เราขอแนะนำให้เริ่มรับประทานไมโซพรอสทอลในตอนเช้า วิธีนี้จะช่วยให้คุณติดตามการตอบสนองของร่างกายได้ตลอดทั้งวัน และช่วยให้คุณพักผ่อนได้เพียงพอตลอดคืน
ขั้นตอนที่ 3: รับประทานยาแก้ปวด
เริ่มต้นด้วยการทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (800 มก.) ประมาณ 30 นาที ก่อนใช้ไมโซพรอสตอล เพราะอาการปวดเกร็งจะเริ่มขึ้นในไม่ช้าหลังจากใช้ยา หากคุณมียาแก้คลื่นไส้ ให้ใช้ร่วมกับยาแก้ปวด
จากนั้น ให้วางเม็ดยาไมโซพรอสตอล 4 เม็ด (เม็ดละ 200 มก.) ไว้ใต้ลิ้นและอมไว้เป็นเวลา 30 นาที คุณสามารถกลืนน้ำลายได้ แต่ไม่ควรพูดหรือรับประทานอาหารในช่วงเวลานี้ ดังนั้น ควรใช้ยาในสถานที่เงียบสงบที่ไม่มีสิ่งรบกวน หลังจากผ่านไป 30 นาที ให้ดื่มน้ำและกลืนเศษยาที่เหลือทั้งหมด
หากคุณอาเจียนภายใน 30 นาทีแรกหลังจากใช้ไมโซพรอสตอล ให้ทำตามขั้นตอนที่ 3 อีกครั้ง หากคุณอาเจียนหลังจากนั้น ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก เนื่องจากร่างกายของคุณได้ดูดซึมยาไปแล้ว
อาการปวดเกร็งและเลือดออกอาจเริ่มขึ้นภายใน 30 นาที หลังจากทานยาไมโซพรอสตอล แต่บางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมง จึงจะเริ่มมีเลือดออก คนส่วนใหญ่จะเริ่มมีเลือดออกภายใน 4-6 ชั่วโมง หลังจากใช้ยา
คุณสามารถทานยาไอบูโพรเฟน (200 มก. ต่อเม็ด) ครั้งละ 3-4 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงเพื่อบรรเทาอาการปวดหากจำเป็น แต่ไม่ควรเกิน 3200 มก. ภายใน 24 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาแอสไพรินทั่วไป เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก นอกจากนี้ หากคุณแพ้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ออกฤทธิ์ (NSAIDs) คุณสามารถใช้ยาอะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอล (1,000 มก.) แทนได้ แต่ยาเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดน้อยกว่าไอบูโพรเฟน
ขั้นตอนที่ 4: ฉันต้องใช้ยาไมโซพรอสทอลครั้งที่สองเมื่อใด?
หากคุณตั้งครรภ์ได้ไม่เกิน 9 สัปดาห์ คุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาโดสที่สอง แต่หากคุณมีเลือดออกไม่มากเท่ากับช่วงมีประจำเดือนภายใน 24 ชั่วโมง หรือหากคุณกังวลว่าเลือดออกน้อยเกินไป คุณสามารถใช้ยาไมโซพรอสตอลอีก 4 เม็ดด้วยวิธีเดียวกับที่ใช้ครั้งแรก
หากคุณตั้งครรภ์ระหว่าง 9–13 สัปดาห์ ควรใช้ยาไมโซพรอสตอลเพิ่มอีก 4 เม็ดด้วยวิธีเดียวกับที่ใช้ครั้งแรก โดยให้เว้นระยะ 4 ชั่วโมง หลังจากใช้ยาโดสแรก วิธีนี้จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นและมีแนวโน้มที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้สำเร็จมากขึ้น
ฉันควรรู้อะไรเพิ่มเ ติมเมื่อใช้ไมเฟพริสโตนและไมโซพรอสทอล?
ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนเป็นสิ่งสำคัญ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการและสัญญาณเตือหลังจากใช้ยายุติการตั้งครรภ์
หากคุณใช้ยายุติการตั้งครรภ์ไมฟีพริสโทนและไมโซพรอสทอล คุณอาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา หากคุณกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนการยุติการตั้งครรภ์และต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อฝ่ายสนับสนุนของเราได้ที่ safe2choose.org, womenhelp.org หรือ womenonweb.org
เฉพาะคำแนะนำสำหรับการทำแท้งด้วยไมโซพรอสทอลเท่านั้น
โปรดอ่านบทความของเรา ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยายุติการตั้งครรภ์: ก่อนการใช้ยาหรือก่อนรับประทานยา โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า:
- คุณมีอายุครรภ์น้อยกว่า 13 สัปดาห์ (91 วัน)
- คุณได้อ่านข้อควรพิจารณาและคำแนะนำทั่วไปทั้งหมดของเราแล้ว
- คุณมีแผนความปลอดภัยเตรียมไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินแม้อาจเกิดขึ้นได้ยาก
หากไม่สามารถหาซื้อไมฟีพริสโทนได้ในพื้นที่ที่คุณอาศัย คุณสามารถใช้ไมโซพรอสทอลเพียงอย่างเดียวเพื่อยุติการตั้งครรภ์ได้
หากต้องการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาไมโซพรอสตอลเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องใช้ยาไมโซพรอสตอล 12 เม็ด ขนาด 200 มก.
การใช้ยาไมโซพรอสตอล 12 เม็ดอาจช่วยให้ยุติการตั้งครรภ์ได้สำเร็ จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอายุครรภ์ระหว่าง 9–13 สัปดาห์ หากคุณตั้งครรภ์ได้ไม่เกิน 9 สัปดาห์และไม่สามารถใช้ยาไมโซพรอสตอล 12 เม็ดได้ คุณสามารถใช้ยา 8 เม็ดได้ แต่ประสิทธิภาพจะลดลง
ยาแก้ปวด (ไอบูโพรเฟน) และยาแก้คลื่นไส้สามารถช่วยได้ หากคุณรู้สึกคลื่นไส้เป็นอย่างมากในระหว่างการยุติการตั้งครรภ์ เราขอแนะนำให้คุณทานยาแก้คลื่นไส้ 30 นาที ก่อนใช้ยาไมโซพรอสตอลเพื่อป้องกันการอาเจียน
คุณไม่จำเป็นต้องงดอาหารระหว่างการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา คุณสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นในขณะที่คุณอมยาไว้ใต้ลิ้น
วิธีการใช้ไมโซพรอสตอลเพียงอย่างเดียวเพื่อยุติการตั้งครรภ์มีดังนี้:
ขั้นตอนที่ 1: ควรรับประทานไมโซพรอสทอลครั้งแรกอย่างไร?
เริ่มต้นด้วยการทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (800 มก.) ประมาณ 30 นาที ก่อนใช้ไมโซพรอสตอล เพราะอาการปวดเกร็งจะเริ่มขึ้นในไม่ช้าหลังจากใช้ยา หากคุณมียาแก้คลื่นไส้ ให้ทานทันที
จากนั้น ให้วางเม็ดยาไมโซพรอสตอล 4 เม็ด (เม็ดละ 200 มก.) ไว้ใต้ลิ้นและอมไว้เป็นเวลา 30 นาที คุณสามารถกลืนน้ำลายได้ แต่ไม่ควรพูดหรือรับประทานอาหารในช่วงเวลานี้ ดังนั้น ควรใช้ยาในสถานที่เงียบสงบที่ไม่มีสิ่งรบกวน หลังจากผ่านไป 30 นาที ให้ดื่มน้ำและกลืนเศษยาที่เหลือทั้งหมด
หากคุณอาเจียนภายใน 30 นาทีแรกหลังจากใช้ไมโซพรอสตอล ให้ทำตามขั้นตอนที่ 3 อีกครั้ง หากคุณอาเจียนหลังจากนั้น ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก เนื่องจากร่างกายของคุณได้ดูดซึมยาไปแล้ว
อาการปวดเกร็งและเลือดออกอาจเริ่มขึ้นภายใน 30 นาที หลังจากทานยาไมโซพรอสตอล แต่บางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมง จึงจะเริ่มมีเลือดออก คนส่วนใหญ่จะเริ่มมีเลือดออกภายใน 4-6 ชั่วโมง หลังจา กใช้ยา
คุณสามารถทานยาไอบูโพรเฟน (200 มก. ต่อเม็ด) ครั้งละ 3-4 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมงเพื่อบรรเทาอาการปวดหากจำเป็น แต่ไม่ควรเกิน 3200 มก. ภายใน 24 ชั่วโมง และไม่ควรใช้ยาแอสไพรินทั่วไป เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก นอกจากนี้ หากคุณแพ้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ออกฤทธิ์ (NSAIDs) คุณสามารถใช้ยาอะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอล (1,000 มก.) แทนได้ แต่ยาเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดน้อยกว่าไอบูโพรเฟน
ขั้นตอนที่ 2: ควรรอนานแค่ไหนระหว่างการใช้ยาไมโซพรอสทอลแต่ละโดส?
รอ 3 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3: ควรรับประทานไมโซพรอสทอลครั้งที่สองอย่างไร?
วางเม็ดยาไมโซพรอสตอลอีก 4 เม็ด (เม็ดละ 200 ไมโครกรัม) ไว้ใต้ลิ้นและอมไว้ 30 นาที
ขั้นตอนที่ 4:
รออีก 3 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 5: ควรรับประทานไมโซพรอสทอลครั้งที่สามอย่างไร?
วาง เม็ดยาไมโซพรอสตอลเพิ่มอีก 4 เม็ด (เม็ดละ 200 ไมโครกรัม) ไว้ใต้ลิ้นและอมไว้ 30 นาที
ควรคาดหวังอะไรหลังจากใช้ยาไมโซพรอสทอลครบทุกโดส?
คุณควรจะเริ่มมีเลือดออกและมีอาการปวดเกร็งขณะใช้ยา อย่าลืมใช้ยาให้ครบทั้ง 12 เม็ด แม้ว่าคุณจะเริ่มมีเลือดออกก่อนจะใช้ยาทั้งหมดก็ตาม
มีอะไรอีกที่ฉันควรรู้เมื่อใช้ยาไมโซพรอสทอล?
ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม การสังเกตอาการและสัญญาณเตือนเป็นสิ่งสำคัญ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการและสัญญาณเตือหลังจากใช้ยายุติการตั้งครรภ์
หากคุณใช้ยายุติการตั้งครรภ์ไมฟีพริสโทนและไมโซพรอสทอล คุณอาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา หากคุณกังวลเกี่ยวกับขั ้นตอนการยุติการตั้งครรภ์และต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อฝ่ายสนับสนุนของเราได้ที่ safe2choose.org, womenhelp.org หรือ womenonweb.org
ผู้แต่ง:
เนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏบนเว็บไซต์นี้เขียนขึ้นโดยคณะทำงาน HowToUseAbortionPill.org โดยปฏิบัติตามมาตรฐานและระเบียบการจาก National Abortion Federation, Ipas, องค์การอนามัยโลก (World Health Organization), DKT International และ Carafem
การอ้างอิง:
- Ipas. (2023). Clinical updates in reproductive health. https://www.ipas.org/resource/clinical-updates-in-reproductive-health/
- National Abortion Federation. (2024). 2024 Clinical policy guidelines for abortion care. https://prochoice.org/providers/quality-standards/
- World Health Organization. (2022). World Health Organization’s 2022 Safe Abortion: Technical and Policy Guidance for Health Systems, Second edition. https://www.who.int/publications/i/item/9789240039483